กิจกรรมที่ 6 ข้อมูลสำหรับโครงงานคอมพิวเตอร์ (Data for computer project)

รูปภาพ
   ทฤษฎีสามเหลี่ยมแห่งรัก (Robert Sternberg)   Triangular theory of love                 ที่มา  yuvabadhanafoundation                ทฤษฎีแห่งความรักรูปสามเหลี่ยม   โดยโรเบิร์ตสเติร์นเบิร์กอธิบายว่าความรักเป็นอย่างไรเช่นเดียวกับองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ประกอบกันขึ้นซึ่งการรวมกันในบางลักษณะจะก่อให้เกิดประเภทความรักที่เฉพาะเจาะจง                ✩ สำหรับ Robert Sternberg รักประกอบด้วยเสมอสามองค์ประกอบ              ความหลงใหล ความรักความใกล้ชิดและความผูกพัน  ซึ่งเป็นสัญลักษณ์มุมของพีรามิดที่เป็นสิ่งที่ใช้ในการอธิบายทฤษฎีและรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดเป็นประเภทต่าง ๆ ของความรัก ทฤษฎีสามเหลี่ยมแห่งรัก              Robert Sternberg เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันที่เกิดเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2492 ศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเยลและอดีตประธานาธิบด...

พรบ.คอมพิวเตอร์


 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 



  พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์คืออะไร ? 
        พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ โน็ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมไปถึงระบบต่าง ๆ ที่ถูกควบคุมการกระทำระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็น พรบ คอม ที่ออกมาเพื่อป้องกัน และควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้การใช้คอมพิวเตอร์ 
        หากผู้ใดกระทำผิดก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ 2560 นัันได้กำหนดไว้

 ⋆゚꒰ఎ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ໒꒱ ⋆゚ 
        พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ คือ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับแรก ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เป็นฉบับล่าสุดที่ใช้กันในปัจจุบันค่ะ! 

*ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

 มาตรา 5-8 


        การปล่อยไวรัส หรือมัลแวร์เข้าคอมพิวเตอร์คนอื่นเพื่อขโมยข้อมูล โดยที่เจ้าของไม่อนุญาต (ละเมิด Privacy) มีโทษฐานผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ โดย

 มาตรา 5 : เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท

 มาตรา 6 : นำมาตรการป้องกันระบบไปเผยแพร่ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท

 มาตรา 7 : เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท

 มาตรา 8 : ดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 มาตรา 9-10 


        การเข้าไปขัดขวาง ทำร้ายระบบ รวมทั้งเข้าไปดัดแปลง หรือทำลายข้อมูล ทำให้ข้อมูลของฝ่ายตรงข้ามเสียหายผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

 มาตรา 11 


        การส่งอีเมลขายของโดยที่ลูกค้าไม่ยินดีที่จะรับนั้นถือเป็นการสแปม หรือการฝากร้านตาม Facebook และ IG ก็จะมีโทษตาม พรบ.คอมพิวเตอร์โดยปรับไม่เกิน 1 แสนบาท จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ 

 มาตรา 12 

        
        การเข้าถึงระบบ หรือข้อมูลด้านความมั่นคงรวมถึงการโพสเนื้อหาที่ส่งผลต่อความมั่นคงต่อประเทศบนโลกออนไลน์ที่เข้าข่ายข้อมูลเท็จที่ทำให้ประชาชนเกิดอาการตื่นตระหนก มีโทษแบ่งตาม พรบ. คอมพิวเตอร์เป็นกรณีดังนี้

  • กรณีไม่เกิดความเสียหาย จำคุก 1-7 ปี และปรับ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท
  • กรณีเกิดความเสียหาย จำคุก 1-10 ปี และปรับ 2 – 2 แสนบาท
  • กรณีเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำคุก 5 – 20 ปี และปรับ 1 แสน – 4 แสนบาท

 มาตรา 14 


        การโพสต์ ข่าวปลอม ธุรกิจลูกโซ่ ที่ต้องการจะหลอกเอาเงินจากลูกค้า โพสต์เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยรวมทั้งการก่อการร้าย โพสต์ข้อมูลลามก โดยถ้าเกิดว่าส่งผลถึงประชาชน จะต้องจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  ส่วนถ้าส่งผลต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรีบไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 มาตรา 15 


        การเข้าไปคอมเม้นแสดงความคิดเห็นในโพสที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายก็จะกระทำ พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ 2560 ถ้าไม่ยอมลบจะได้รับโทษเดียวกันกับมาตรา 14 เหมือนกันกับผู้โพสต์แต่ถ้าหากว่าลบออกไปแล้ว ถือว่าพ้นผิด

        หมายเหตุ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลการใช้งานไม่น้อยกว่า 90 วัน หรือในกรณีที่ศาลสั่งจะต้องเก็บข้อมูลไม่เกิน 2 ปี

 มาตรา 16 


        การตัดต่อ ดัดแปลงภาพที่ทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง และเกิดความเสียหาย รวมทั้งโพสต์ภาพผู้เสียชีวิตที่ทำให้พ่อ – แม่ คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย จะต้องจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท 

 มาตรา 17 


        องค์กรหรือหน่วยงานที่ออกอินเตอร์เน็ตจำเป็นต้องติดตั้งระบบเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ หากยังไม่จัดเก็บผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัทจะต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

*สรุปข้อมูลคราว ๆ ให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น 

credit : pantip



credit : ARIT PKRU



 Case Study 

จากพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ที่กล่าวถึงข้างต้นก็มีกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นอยู่มาก
วันนี้เราขอยกตัวอย่างข่าวนี้มาให้ทุกคนได้เห็นและทราบกันค่ะ

"ตำรวจสอบสวนกลาง" เปิดยุทธการเด็ดปีก "อวตาร" หลอกลวงเหยื่อกรรโชกทรัพย์



                        เมื่อวันที่ 3 ต.ค.64 พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก.สั่งการให้ พล.ต.ต.วิวัฒน์ คำชำนาญ ผบก.ปคม.พร้อมด้วย พ.ต.อ.จิรเดช พระสว่าง รอง ผบก.ปคม.และ พ.ต.อ.กึกก้อง ดิศวัฒน์ ผกก.5 บก.ปคม.ทำการจับกุมนายธนกฤต หรือโอ๊ต อายุ 38 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 1854 /2564 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ในข้อกล่าวหา ครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็กเพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางเพศสำหรับตนเองหรือผู้อื่น และ ส่งต่อซึ่งสื่อลามกอนาจารเด็กแก่ผู้อื่น ,ข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือ โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สาม ,นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

                   สืบเนื่องจากกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือ บก.ปคม.ได้รับการร้องเรียนจากพี่น้องประชาชนผ่านช่องทางเพจ"เฟซบุ๊ก" ว่ามีผู้ใช้บัญชี"เฟซบุ๊ก"ปลอมเป็นหญิงสาวสวยหน้าตาดี ติดต่อพูดคุยกับเหยื่อ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กและเยาวชนผ่านช่องทาง"เฟซบุ๊ก" เมื่อเหยื่อเริ่มคุ้นเคยก็จะชักชวนพูดคุยเรื่องลามกอนาจาร แล้วส่งภาพลามกอนาจารของหญิงสาวไป แล้วชักชวนเหยื่อถ่ายภาพโป๊เปลือยโชว์ของสงวนของลับตนเองกลับมา เมื่อเหยื่อซึ่งเป็นผู้เยาว์รู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้ส่งภาพโป๊เปลือยโชว์ของสงวนของลับตนเองกลับมา ก็จะบันทึกภาพนั้นไว้ แล้วนำมาข่มขู่"กรรโชกทรัพย์"เหยื่อให้จ่ายเงิน มิฉะนั้นจะเผยแพร่ภาพของเหยื่อในโซเชียลมีเดีย ทำให้เกิดความเสียหายและอับอาย

                    พล.ต.ต.วิวัฒน์ คำชำนาญ ผบก.ปคม.จึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่ ทำการสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิด จากการสืบสวนพบว่าคนร้ายสมัครใช้เฟซบุ๊กปลอม หรือ "เฟซอวตาร" จำนวน 4 บัญชี ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นภาพของหญิงสาวหน้าตาดี โดยใช้ชื่อบัญชีว่า Punnapat,Picrada,ชลธิชา และ แพรทอง จากนั้นจะใช้วิธีเลือกเหยื่อ หากเหยื่อเป็นเด็กและเยาวชน จะใช้แอปพลิเคชัน“OMI” ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับหาเพื่อนของกลุ่มวัยรุ่น ส่วนเหยื่อที่เป็นผู้ใหญ่ ก็จะเลือกหาเหยื่อผ่านเว็บไซต์ www.swinging.com กระทั่งทราบว่า นายธนกฤต ผู้ต้องหา เป็นผู้ก่อเหตุทั้งหมด จึงขออนุมัติศาลอาญาออกหมายจับกุม กระทั่งจับกุมตัวได้สำเร็จ

กระทำความผิดในมาตรากระทําผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 มาตรา 14 (4) ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ขอบคุณแหล่งที่มา ( คมชัดลึก )



        ปัจจุบันอย่างที่ทุกคนพอจะทราบว่าได้มีประการบังคับใช้กฎหมาย PDPA เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2565 อย่างเต็มรูปแบบ วันนี้เราจะมาดูกันว่ากฎหมายนี้คืออะไร และมีมาตรการการบังคับใช้อย่างไรบ้าง เริ่มกันได้เลย!

        PDPA คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกสร้างมาเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคน รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลและนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ และไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสียก่อน

 PDPA สำคัญอย่างไร ? 


        ความสำคัญของ PDPA คือการทำให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในข้อมูลส่วนตัวที่ถูกจัดเก็บไปแล้ว หรือกำลังจะถูกจัดเก็บมากขึ้น เพื่อสร้างความปลอดภัยและเป็นส่วนตัวให้แก่เจ้าของข้อมูล โดยมีสิทธิที่สำคัญคือ สิทธิการรับทราบและยิมยอมการเก็บข้อมูลส่วนตัว และสิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว คัดค้านและเพิกถอนการเก็บและนำข้อมูลไปใช้ และสิทธิขอให้ลบหรือทำลายข้อมูลส่วนตัว


*บทลงโทษของประเทศไทย

 โทษทางแพ่ง 

        โทษทางแพ่งกำหนดให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นจริงให้กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการละเมิด และอาจจะต้องจ่ายบวกเพิ่มอีกเป็นค่าค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษเพิ่มเติมสูงสุดได้อีก 2 เท่าของค่าเสียหายจริง


 โทษทางอาญา 

        โทษทางอาญาจะมีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ โดยมี โทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  โดยโทษสูงสุดดังกล่าวจะเกิดจากการไม่ปฏิบัติตาม PDPA ในส่วนการใช้ข้อมูล หรือเปิดเผยข้อมูล หรือส่งโอนข้อมูลไปยังต่างประเทศ ประเภทข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data)

 โทษทางปกครอง  

        โทษปรับ มีตั้งแต่ 1 ล้านบาทจนถึงสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท ซึ่งโทษปรับสูงสุด 5 ล้านบาท จะเป็นกรณีของการไม่ปฏิบัติตาม PDPA ในส่วนการใช้ข้อมูล หรือเปิดเผยข้อมูล หรือส่งโอนข้อมูลไปยังต่างประเทศของประเภทข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน (Sensitive Personal Data)
        ซึ่งโทษทางปกครองนี้จะแยกต่างหากกับการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากโทษทางแพ่งและโทษทางอาญาด้วย



credit : Spring News

◝(⁰▿⁰)◜

นี่ก็เป็นข้อมูลที่เรานำมาเสนอและหวังว่ามันจะเป็นประโยชน์ต่อใครและใครที่ผ่านเข้ามาได้ไม่มากก็น้อย สำหรับวันนี้ขอบคุณค่ะ

 source 

ความคิดเห็น